สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. การสร้างงานแอนิเมชั่นแบบดั่งเดิม
(Traditional Animation หรือ Drawn Animation) เป็นกระบวนการที่ใช้สำหรับการสร้างภาพเคลื่อนไหวภาพยนตร์มากที่สุด
เป็นการสร้างชิ้นงานแอนิเมชั่นด้วยภาพวาดซึ่งจะมีการวาดภาพลงบนกระดาษก่อน
เพื่อสร้างภาพลวงตาของการเคลื่อนไหว แต่ละรูปวาดจะแตกต่างกันเล็กน้อย หลายพันภาพ
และฉายภาพเหล่านั้นผ่านกล้องบันทึกภาพ หรือกล้องวิดีโอ
การทำแอนิเมชั่นต้องอาศัยความสามารถทางศิลปะในการวาดภาพอย่างมาก
จึงทำให้ต้องใช้เวลาในการผลิตนานและต้นทุนในการผลิตจึงสูงตามไปด้วย
2. การสร้างแอนิเมชั่นแบบสต๊อปโมชั่น
(Stop Motion หรือเรียกว่า Model Animation) เป็นการสร้างหุ่นจำลองขึ้นมาหรือใช้สิ่งของแล้วค่อยๆ
ขยับ พร้อมกับถ่ายภาพนั้นที่ละภาพ ที่พบมากได้แก่ ภาพเคลื่อนไหวแบบหุ่นเชิด
ภาพเคลื่อนไหวดินน้ำมัน ซึ่งวัสดุที่นิยมใช้มักจะเป็นดินน้ำมัน
ปั้นเป็นรูปร่างต่างๆ
โดยมีเส้นลวดเสมือนเป็นโครงกระดูกอยู่ภายในหุ่นที่ปั้นและทำให้สามารถนำมาใช้งานได้หลายครั้ง
แอนิเมชั่นแบบนี้ต้องอาศัยเวลา
ความอดทนและความสามารถมากต้องใช้ทักษะทางศิลปะการปั้น และการถ่ายภาพ
ทั้งนี้เพราะหุ่นจ าลอง หรือสิ่งของประกอบฉากนั้น
หลายๆสิ่งมีการขยับหรือเคลื่อนไหวไปพร้อมๆ กัน ในหนึ่งภาพ
ดังนั้นหากต้องการแสดงความสมจริงจำเป็นต้องอาศัยความละเอียดในการกำหนดการเคลื่อนไหวเพื่อที่จะสร้างภาพลวงตาของการเคลื่อนไหวแต่ละภาพ
3. การสร้างแอนิเมชั่นด้วยคอมพิวเตอร์
(Computer Animation) เป็นกระบวนการสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ด้วยความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจึงมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้การทำแอนิเมชั่นง่ายขึ้น
ทำให้ประหยัดเวลา และต้นทุนเป็นอย่างมาก
โปรแกรมที่นิยมใช้ในการผลิตงานแอนิเมชั่นเช่น โปรแกรม Maya, Abode Flash,
Lightwave, modo, Anime Studio และ 3D Studio Max เป็นต้น
ประเภทของภาพเคลื่อนไหว แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. ภาพเคลื่อนไหวแบบ
2 มิติ (2D Animation ) สามารถมองเห็นได้ทั้งความสูงและความกว้าง
2. ภาพเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติ (3D Animation) สามารถมองเห็นได้ทั้งความสูง
ความกว้าง และความลึก
ที่มา : https://sites.google.com/site/ch888as/prapheth-khxng-xae-ni-me-chan
ที่มา : https://sites.google.com/site/ch888as/prapheth-khxng-xae-ni-me-chan
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น