วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ทฤษฎี และหลักการด้านสี แสง เงาในแอนิเมชั่น


สี เกิดขึ้นจากแสงที่มากระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าตาเรา ทำให้เห็นเป็นสีต่างๆ สีเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบแอนิเมชั่น เพราะสีเป็นองค์ประกอบสำคัญในการออกแบบแอนิเมชั่น มีอิทธิพพลในเรื่องของอารมณ์ สร้างความสวยงามในงานแอนิเมชั่น และสีสามารถสื่อความหมายได้หลากหลาย  

        ความหมายของสีต่างๆ เช่น  

                 สีแดง ให้อารมณ์ของความร้อน พลัง พลังงาน ความ แรง  

                 สีเหลือง ให้ความสดใส ปลอดโปร่ง ดึงดูดสายตา 

                 สีน้ำเงิน ให้ความสงบเรียบ สุขุม มีราคา หรูหรามีระดับ  

                 สีส้ม   ให้ความรู้สึกดึงดูด ทันสมัย สดใส กระฉับกระเฉง มีพลัง 

                 สีม่วง   ให้อารมณ์หนักแน่น มีเสน่ห์ ความลั บ สิ่งที่ปกปิด 

                 สีเขียว  ให้ความรู้สึกสดชื่น ธรรมชาติ เย็นสบาย  

                 สีชมพู   ให้ความอ่อนหวาน นุ่มนวล ความรัก  

        น้ำหนักแสงเงา 

            ในการสร้างแอนิเมชั่น ชิ้นงานที่สร้างเพื่อให้เกิดความสมจริงจำเป็นต้องอาศัยภาพวาดที่มีการกำหนดน้ำหนักของแสงเงา เพื่อให้ภาพแอนิเมชั่นดูแล้วมีมิติ ดูแล้วมีปริมาตร และเกิดความรู้สึกสมจริง แสงและเงา  (Light &Shadow) เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ภาพเกิดความกลมกลืน หรือตื้นลึกเหมือนจริงอย่างที่ตาเห็น ทั้งยังทำให้เกิดรูปทรง และความสมบูรณ์ของภาพ แสงเงาเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการมองเห็นอย่างหนึ่งซึ่งสำคัญมาก หลักในการใช้แสงเงา เช่น เมื่อมีแสงตกกระทบลงบนวัตถุย่อมจะเกิดเงา ความเข้มของเงาจะขึ้นอยู่กับความเข้มของแสง ในที่ที่มีแสงสว่างมาก เงาจะเข้มขึ้น ในที่ที่มีแสงสว่างน้อย เงาจะไม่ชัดเจน ในที่ที่ไม่มีแสงสว่าง จะไม่มีเงา เป็นต้น 

        ทฤษฎีทางด้านจิตวิทยา 

            การที่คนเราจะต้องสื่อสารด้วยอวัยวะรับสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั่งห้าส่วน  ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวหนัง สัมผัสต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัว โดยคนเราจำเป็นต้องตีความสิ่งที่ได้สัมผัส แล้วตอบสนองกลับไปอย่างเหมาะสม แต่ละคนเราจะตีความในสิ่งแวดล้อมที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันออกไป ความสามารถในการตีความประสบการณ์ ของแต่ละคน เหล่านี้เรียกว่า การรับรู้ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เช่น กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology) แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์  กลุ่มนี้มีแนวคิดว่า การเรียนรู้เกิดได้จากการจัดสิ่งเร้าต่าง ๆ มารวมกันเริ่มต้นด้วยการ รับรู้โดยส่วนรวมก่อนแล้ว จึงจะสามารถวิเคราะห์เรื่องการเรียนรู้ส่วนย่อยทีละส่วนต่อไป  




ที่มา : https://sites.google.com/site/ch888as/thvsdi-laea-hlak-kar-dan-si-saeng-ngea

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Brown Bobblehead Bunny